วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปโทรทัศน์ครู




ของเล่นและของใช้ คุณครูสุวรรณา ชโลวัฒนะ รร.บ้านเหมืองแร่
เทคนิคการสอนปฐมวัยโดยยึดหลักกระบวนการให้นักเรียนได้จดจำ และสังเกตุแยกแยะของเล่น ของใช้ที่มีประโยชน์ผ่านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย และการสัมผัส

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุป บทความ


                                    เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ 




วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย






สัปดาห์ที่14

การทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับ




ส่วนประกอบและเครื่องปรุงแกงจืดเต้าหู้หมูสับ
1. เต้าหู้ 1 หลอด
2. หมูสับ 100 กรัม
3. น้ำซุปกระดูกหมูหรือไก่ 300 มิลลิลิตร (ถ้าไม่สะดวกสามารถใช้ซุปไก่ก้อน ½ ก้อน + น้ำเปล่า 3 ถ้วยแทนได้นะคะ)
4. ซีอิ้วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
6. ต้นหอม 2 ต้น
7. ผักชี 2 ต้น
8. น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ (สำหรับหมักหมูสับ)
9. ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 1 ช้อนชา (สำหรับหมักหมูสับ)
10. น้ำตาลทราย ½ ช้อนชา (สำหรับหมักหมูสับ)
11. พริกไทยป่น ½ ช้อนชา (สำหรับหมักหมูสับ)
12. ผักกาดขาว
13. แครอท
ขั้นตอนและวิธีทําแกงจืดเต้าหู้หมูสับ
1. นำหมูสับมาผสมกับเครื่องปรุงต่างๆ คือ น้ำมันหอย ซีอิ้วขาว น้ำตาลทราย และพริกไทยป่นคลุกเคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากับหมูสับ พักไว้
2. ตัดรากต้นหอมและผักชี นำไปล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วหั่นเป็นท่อนๆ
3. นำเต้าหู้มาหั่นเป็นแว่นๆ เตรียมไว้
4. นำผักกาดขาวมาล้างให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วหั่นชิ้นพอคำ ส่วนแครอทนำมาปลอกเปลือกแล้วกดในพิมพ์ให้เป็นรูปดอกไม้ หรือหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเตรียมไว้
5. เปิดเตาที่ไฟปานกลางค่อนไปทางแรง นำน้ำซุปกระดูกหมูหรือไก่ (หรือใส่น้ำเปล่าลงไปในหม้อ ใส่ซุปไก่ก้อนลงไป)ตั้งเตา พอน้ำเดือดตักหมูสับที่หมักไว้เป็นก้อนเล็กๆ ทะยอยใส่ลงไป
6. รอจนน้ำเดือดอีกครั้งใส่เต้าหู้ที่หั่นไว้ลงไป ตามด้วยผักกาดขาวและแครอทลงไป
7. ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว และน้ำตาลทราย จากนั้นก็นำต้นหอมและผักชีที่หั่นเป็นท่อนแล้วใส่ลงไป รอจนน้ำเดือดอีกครั้งแล้วปิดเตาทันที
8. ตักใส่ถ้วย โรยด้วยพริกไทยป่นเล็กน้อย (หรือโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวเพิ่มลงไป) จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะ ทานคู่กับข้าวสวยร้อนๆ หรือซดให้คล่องระหว่างรับประทานอาหารได้เลยค่ะ


รูปภาพการทำกิจกรรม

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่13

การทำ Cooking

         การจัดประสบการณ์การประกอบอาหาร (Cooking experience) หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมผ่านขั้นตอนและกระบวนการประกอบอาหารประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เกิดความคิดรวบยอดและพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ อย่างสมดุล จากการได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้ จนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (Child centered) อีกทั้งยังปลูกฝังเด็กให้เด็กมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพ สุขอนามัย และโภชนาการที่ดี

การจัดประสบการณ์การประกอบอาหารมีความสำคัญอย่างไร?

              การเรียนรู้ของมนุษย์เรามีผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยเด็กจะต้องเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง และการเรียนรู้จะเป็นไปได้ดีถ้าเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว มีโอกาสได้คิดริเริ่มตามความต้องการและความสนใจของตนเอง รวมทั้งอยู่ในบรรยากาศที่เป็นอิสระ อบอุ่น และปลอดภัย ครูจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องปรับเปลี่ยนจากบทบาทผู้ที่สั่งสอนด้วยชี้นำ บอกความรู้ให้เด็กมาเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกแก่เด็กในด้านต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเองจนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตนเอง หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัยแล้ว เด็กจะบรรลุมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดไว้ในจุดหมาย จำนวน 12 ข้อ ได้แก่
การจัดประสบการณ์การประกอบอาหารมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
                     การประกอบอาหารเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการที่สนุกสนาน และเร้าความสนใจในการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี กิจกรรมนี้ไม่ได้มุ่งเน้นที่ผลงานหรืออาหารที่ทำเสร็จ แต่อยู่ที่กระบวนการระหว่างการทำกิจกรรมเป็นสำคัญ กิจกรรมการประกอบอาหารมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กดังนี้
·         เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และอาหารหมู่ต่างๆ จากการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร เช่น การทำผัดผักรวม เด็กจะเรียนรู้ว่าผักมีประโยชน์ให้วิตะมินและแร่ธาตุต่างๆ กุ้งให้สารอาหารประเภทโปรตีน และไขมัน ฯลฯ
·         เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรายการอาหารใหม่ๆ และส่วนประกอบของอาหารในแต่ละวัฒนธรรมหรือท้องถิ่น เช่น อาหารทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ส้มตำ ลาบ น้ำตก ต้มแซ่บ ฯลฯ อาหารภาคใต้ ได้แก่ แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดเผ็ดสะตอกุ้งสด ฯลฯ
·         เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพที่แตกต่างกันในอาหารแต่ละประเภท และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เช่น การทำข้าวผัดอนุบาล จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้าวมาจากไหน ดังนั้น เด็กจึงต้องเรียนรู้อาชีพชาวนา การทำยำทะเลเด็กจะได้เรียนรู้อาชีพชาวประมง ทำสลัดผลไม้จะได้เรียนรู้อาชีพชาวสวน หรือการปรุงอาหารจากรายการอาหารใหม่ๆ จะเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพพ่อครัวหรือเชฟ เป็นต้น
·         เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นขณะปรุงอาหาร การระเหยของน้ำในหม้อแกง การเปลี่ยนสีของผักก่อนและหลังการปรุง การละลายของเนย การเปลี่ยนสถานะของน้ำ การเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลง หรือใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ เด็กยังได้ฝึกฝนทักษะการเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดกลุ่มของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิด เช่น ให้เปรียบเทียบขนาดของผลส้ม ให้จัดประเภทของผลไม้หรือผักต่างๆ ฯลฯ
·         เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบปริมาณน้ำส้มคั้นในแต่ละแก้ว การเรียงลำดับขนาดจากใหญ่ไปหาเล็กของผลมะเขือเทศ การนับจำนวนแตงกวา แครอท การรู้ค่าจำนวน - 10 จากการใช้สื่อประเภทผักหรือผลไม้ที่นำมาประกอบอาหาร
·         เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางภาษา เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ จากวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น จาน ชาม ช้อน มะม่วง แตงโม ผักกาด นอกจากนี้เด็กยังได้พัฒนาทักษะการฟัง การพูดคุยตอบโต้ระหว่างครูและเพื่อนๆ หรือการแสดงความคิดเห็นในขณะปฏิบัติกิจกรรม
·                            เด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม ในการประกอบอาหารครูอาจแบ่งเด็กให้ปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่มย่อมทำให้เด็กพัฒนาการสื่อสารระหว่างกัน การแก้ปัญหาทางสังคมจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ เด็กจะได้วางแผนและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือและมีพฤติกรรมการเอื้อเฟื้อ ตลอดจนการรู้จักการปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม
·         เด็กจะได้รับการพัฒนาทางด้านอารมณ์ กิจกรรมประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและท้าทายการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ร่วมกิจกรรมและปฏิบัติการด้วยตนเอง การอด้วยความจดจ่อว่าเมื่อไรอาหารจะสุก
·         เด็กจะได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง เด็กบางคนอามีทัศนคติที่ไม่ดีกับการรับประทานผักบางชนิด การจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่เด็กได้ลงมือปรุงด้วยตนเองเป็นการสร้างทัศนคติในเชิงบวกและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้ เช่น ถ้าครูสังเกตว่ามีเด็กบางคนไม่ชอบรับประทานผักคะน้า ครูอาจจัดกิจกรรมประกอบอาหารประเภทผัดผักรวมและให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเตรียมผัก ล้างผัก หั่นผักและปฏิบัติการขั้นปรุงด้วยตัวเด็กเอง เด็กก็จะยอมรับในการรับประทานผักชนิดนั้นได้
·                            สร้างความเชื่อมั่นในตนเองและสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดกับเด็ก ในการประกอบอาหารในแต่ละครั้ง ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติการประกอบอาหารด้วยตนเองเป็นกลุ่ม เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการปรุงอาหารทุกครั้ง ครูให้แรงเสริมอย่างสม่ำเสมอ เด็กจะเกิดความเชื่อมั่นในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไปและจะพัฒนาไปสู่ความภาคภูมิใจในตนเองได้
·      เด็กจะได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา การที่เด็กได้หั่นผัก ตักน้ำตาลหรือเกลือใส่ลงในกระทะ เทเครื่องปรุงทั้งหมดลงในหม้อ การเทน้ำส้มลงไปในแก้ว การปั้นแป้งทำขนมบัวลอย กิจกรรมต่างๆ นี้เป็นเรื่องของการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กได้เป็นอย่างดี

รูปภาพการทำกิจกรรม
·         

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่12

ออกไปนำเสนองานเดี่ยว
    เรื่อง  หนูกระดึ๊บๆ

 วิธีการประดิษฐ์

หนูกระดื๊บกระดื๊บ


อุปกรณ์

1. กระดาษสี   2. กรรไกร   3. กาว   4. ปากกาเมจิก
วิธีประดิษฐ์
1.          1.   ตัดกระดาษสีเป็นรูปครึ่งวงกลม ตัดส่วนที่แรเงาออก




 2. พับกระดาษตามรอยปะโค้งกระดาษเป็นรูปทรงกรวย  ทากาวที่ปลายขอบกระดาษแล้วติดบนกระดาษด้านล่าง




 3. ตัดกระดาษเป็นรูป ตา หู และหาง ตามต้องการ




 4. ติด ตา หู และหาง ที่ตัดไว้ใช้ปากกาเมจิกตกแต่ง  จมูก และปาก ตามความต้องการ





วิธีเล่น
วาง หนูกระดื๊บกระดื๊บ ไว้บนพื้นและเป่าฟู่ๆหนูจะกระดื๊บ กระดื๊บไปตามแรงเป่า


สัปดาห์ที่11

ออกไปนำเสนองานกลุ่ม



ขั้นตอนการประดิษฐ์เข้ามุม
เรื่อง  การมองเห็นผ่านวัตถุโปร่งแสง โปร่งใส  ทึบแสง
  
1.นำกล่องสี่เหลี่ยมเหลือใช้ 1 กล่อง ที่มีขนาดพอเหมาะ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป
 2.วัดขนาดข้างกล่อง แล้วตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อเป็นจอทีวี

 3.ตัดข้างบนกล่องทีวีแล้วตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดยาวดังรูป

4.ห่อกล่องสี่เหลี่ยมด้วยกระดาษสี

5. เตรียมอุปกรณ์การทำกระดาษ โปร่งแสง โปร่งใส และทึบแสง

 6. นำแผ่นกระดาษแข็งตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ติดกระดาษ โปร่งแสง โปร่งใสและทึบแสงลงไป
     ทำแบบนี้ทั้ง3อัน

 7.ติดขอบด้วยแล็คซีนให้สวยงาม

8. ขั้นตอนสุดท้ายตกแต่งกล่องทีวีให้สวยงาม นำแผ่นทั้ง3แผ่นใส่ลงในกล่องได้เลยค่ะ