วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่2

จันทร์ ที่24 มิถุนายน 2556
          การเรียนการสอน
-จับกลุ่ม กลุ่มละ6คน แต่ละกลุ่มนำเสนองานและร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นและนำเสนอข้อมูลสรุป
Concept mapping และนำไปส่งในบล็อก

       พัฒนาการทางสติปัญญา
-ความเจริญงอกงามด้านความสามารถในการคิดของแต่ละบุคล
-พัฒนาขึ้นจากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลา
       กระบวนการปฏิสัมพันธ์ประกอบด้วย2กระบวนการคือ
1.กระบวนการดูดซึม
2.กระบวนการปรับโครงสร้าง
       ความสำคํญทางวิทยาศาสตร์
   
                        วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต  เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ  เครื่องมือเครื่องใช้   ตลอดจนผลผลิตต่างๆ  เพื่อใช้อำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน   ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์   ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ   ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก    พร้อมกันนั้นเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญมากที่จะให้การศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

                    วิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด   ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล   คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์  มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้   มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ   สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้    วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่  ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้  ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์  เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น   และนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล   สร้างสรรค์  มีคุณธรรม  ความรู้วิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี   แต่ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์    การดูแลรักษา  ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน   และที่สำคัญยิ่งคือ  ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ   สามารถแข่งขันกับนานาประเทศและดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

วิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

           วิสัยทัศน์เป็นมุมมองภาพในอนาคตที่มุ่งหวังว่าจะมีการพัฒนาอะไร   อย่างไร  ซึ่งจะสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของสังคม   วิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้สอน  บุคลากรทางการศึกษา  ผู้เรียน  และชุมชนร่วมกันพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์  และปฏิบัติร่วมกันสู่ความสำเร็จการกำหนดวิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ใช้กรอบความคิดในเรื่องการพัฒนาการศึกษาเพื่อเตรียมคนในสังคมแห่งความรู้และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ดังนี้

   หลักสูตรและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จะเชื่อมโยงเนื้อหา  แนวคิดหลัก  และกระบวนการที่เป็นสากล  แต่มีความสอดคล้องกับชีวิตจริงทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ  และมีความยืดหยุ่นหลากหลาย
   หลักสูตรและการเรียนการสอนต้องตอบสนองผู้เรียนทีมีความถนัดและความสนใจแตกต่างกันในการใช้วิทยาศาสตร์สำหรับการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์
   ผู้เรียนทุกคนได้รับการส่งเสริมให้พัฒนากระบวนการคิด   ความสามารถในการเรียนรู้  กระบวนการสืบเสาะหาความรู้   โดยถือว่ามีความสำคัญควบคู่การเรียนในสถานศึกษา
   ใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น  โดยถือว่ามีความสำคัญควบคู่กับการเรียนในสถานศึกษา
   ใช้ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนหลากหลาย   เพื่อตอบสนองความต้องการ  ความสนใจ และวิธีเรียนที่แตกต่างกันของผู้เรียน
   การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญที่ทุกคนต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต  จึงประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
   การเรียนการสอนต้องส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีเจตคติ   คุณธรรม   จริยธรรมค่านิยมที่เหมาะสมต่อวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  สังคมและสิ่งแวดล้อม

  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับทั้งความรู้  กระบวนการเจตคติผู้เรียนทุกคน  ควรได้รับการกระตุ้นส่งเสริม    ให้สนใจและกระตือรือร้น   ที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์  มีความสงสัย  เกิดคำถามในสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับโลกธรรมชาติรอบตัว    มีความมุ่งมั่น  และมีความสุขที่จะศึกษาค้นคว้า    สืบเสาะหาความรู้เพื่อรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ผล นำไปสู่คำตอบของคำถาม  สามารถตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลอย่างมีเหตุผล  สามารถสื่อสารคำถาม  คำตอบ   ข้อมูลและสิ่งที่ค้นพบจากการเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้



                      การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต   เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโลกธรรมชาติ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา    ทุกคนจึงต้องเรียนรู้เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตและการประกอบอาชีพ   เมื่อผู้เรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์โดยได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้นท้าทายกับการเผชิญสถานการณ์หรือปัญหา  มีการร่วมกันคิด  ลงมือปฏิบัติจริง   ก็เข้าใจและเห็นความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์กับวิชาอื่น  และชีวิต   ทำให้สามารถอธิบาย   ทำนาย   คาดการณ์สิ่งต่างๆได้อย่างมีเหตุผล   การประสบความสำเร็จในการเรียนวิทยาศาสตร์   จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ     มุ่งมั่นที่จะสังเกตสำรวจตรวจสอบ     สืบค้นความรู้   ที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงต้องสอดคล้องกับสภาพจริงในชีวิต   โดยใช้แหล่งเรียนรู้หลากหลายในท้องถิ่น   และคำนึงถึงผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้   ความสนใจและความถนัดแตกต่างกัน

                                  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน  เป็นการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจ     ซาบซึ้งและเห็นความสำคัญของธรรมชาติ    และสิ่งแวดล้อม      ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้หลายๆด้าน   เป็นความรู้แบบองค์รวม     อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ  และพัฒนาคุณภาพชีวิต  มีความสามารถในการจัดการ   และร่วมกันดูแลรักษาโลกธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น