วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่9


 นำเสนองานกลุ่ม

นำเสนองาน เรือง การมองเห็นผ่านวัตถุโปร่งแสง โปร่งใส ทึบแสง

 

1.  วัตถุโปรงใส ( Transparent Object ) เป็นวัตถุที่แสงผ่านไปได้เกือบหมดอย่างเป็นระเบียบเราจึงมองผ่านวัตถุนี้ได้อย่างชัดเจน เช่น น้ำใส แก้วใส เป็นต้น


2.  วัตถุโปร่งแสง ( Translucent Object ) เป็นวัตถุที่แสงผ่านไปได้บ้าง แต่ไม่เป็นระเบียบเราจึงมองผ่านวัตถุนี้ได้ไม่ชัด เช่น น้ำขุ่น กระจกฝ้า เป็นต้น




3.  วัตถุทึบแสง ( Opaque Object ) เป็นวัตถุที่แสงผ่านไปไม่ได้เลย แสงทั้งหมดจะถูกดูดกลืนไว้หรือสะท้อนกลับ เราจึงไม่สามารถมองผ่านวัตถุชนิดนี้ได้ เช่น กระจกเงา ผนังตึก เป็นต้น

แสงและการมองเห็น
          การที่เรามองเห็นวัตถุต่างๆ ได้ เพราะมีแสงจากวัตถุเข้าตา ซึ่งแสงนั้นอาจจะเกิดจากวัตถุเองหรือแสงนั้นอาจเกิดจากการสะท้อนและหักเห สำหรับการสะท้อนของแสงจะเป็นไปตามกฎการสะท้อน คือ มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน เมื่อรังสีสะท้อนตัดกันจะเกิดภาพ โดยถ้ารังสีสะท้อนตัดกันจริงภาพที่เกิดจะเป็นภาพจริง แต่ถ้าต่อรังสีสะท้อนไปตัดกันจะเกิดภาพเสมือนขนาดเท่าวัตถุ ภาพที่เกิดจากกระจกนูน ก็เป็นภาพเสมือนเช่นกัน แต่มีขนาดเล็กกว่าวัตถุ ส่วนภาพที่เกิดจากกระจกเว้าเป็นได้ทั้งภาพจริงและภาพเสมือน แสงผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งจะเกิดการหักเห สำหรับแสงขาวเมื่อผ่านจากอากาศเข้าไปในปริซึมจะมีการกระจายแสงออกเป็นสีต่างๆ แสดงว่าในแสงขาวประกอบไปด้วยสงสีต่างๆ รวมกัน ซึ่งแต่ละสีมีการหักเหไม่เท่ากัน
การเกิดภาพนอกจากจะเกิดเมื่อรังสีสะท้อนตัดกันแล้ว ยังเกิดจากรังสีหักเหตัดกันได้ด้วย โดยถ้ารังสีหักเหตัดกันจริงก็จะเกิดภาพจริง แต่ถ้าต่อแนวรังสีไปตัดกันจะเกิดภาพเสมือน ภาพจากเลนส์เว้าเป็นภาพเสมือน ส่วนภาพจากเลนส์นูนเป็นได้ทั้งภาพเสมือนและภาพจริง ในการหักเหของแสงบางครั้ง เมื่อแสงตกกระทบผิวรอยต่อระหว่างตัวกลางทั้งสอง โดยมุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤตจะเกิดการสะท้อนแสงกลับหมดของแสง จากหลักหารสะท้อนและหักเหของแสง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทัศนูปกรณ์ได้มากมาย การที่คนจะมองเห็นวัตถุได้ต้องมีรังสีของแสงเข้าสู่ตาแล้วไปปรากฏภาพบนเรตินาซึ่งทำหน้าที่เป็นฉากรับภาพ โดยความสว่างของแสงที่ตกกระทบต้องเหมาะสม
ธรรมชาติของแสง
แสง(light) เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวแหล่งกำเนิดแสงมีทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แสงทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดรุ้ง พระอาทิตย์ทรงกลด เป็นต้น
แสงเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดไปยังที่ต่างๆ โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางและสามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ด้วยอัตราเร็วประมาณ 3 × 108 เมตรต่อวินาที ลักษณะการเคลื่อนที่ของแสงในตัวกลางชนิดเดียวกันจะเป็นเส้นตรงและมีการเปลี่ยนทิศทางไปเมื่อเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน เนื่องจากแสงเดินทางเป็นเส้นตรงจึงสามารถเขียนเส้นตรงแทนแนวการเคลื่อนที่ของแสงได้ เรียกเส้นตรงนี้ว่า “รังสีของแสง
1.การสะท้อนแสง คือ การที่เมื่อแสงตกกระทบวัตถุ แสงบางส่วนจะสะท้อนจากวัตถุ ถ้าแสงสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่นัยน์ตาจะเกิดการมองเห็นและรับรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นได้

         จากภาพอธิบายได้ว่า เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสงผิวเรียบสามารถใช้เส้นตรงและหัวลูกศรแสดงทิศทางของรังสีตกกระทบและรังสีสะท้อน เมื่อลากเส้นทางเดินของแสงเมื่อตกกระทบวัตถุจะเกิดมุม 2 มุม โดยเรียกมุมที่อยู่ระหว่างรังสีตกกระทบกับเส้นปกติว่า “มุมตกกระทบ (θ1)” และเรียกมุมที่อยู่ระหว่างรังสีสะท้อนกับเส้นปกติว่า “มุมสะท้อน (θ2)” ซึ่งการสะท้อนแสงบนผิววัตถุอธิบายได้ด้วย กฎการสะท้อน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น