วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่10

ไม่มีการเรียนการสอน  แต่อาจารย์จะนัดสอนชดเชย

เพิ่มเติมจากห้องเรียน
        การประดิษฐ์ว่าวจากใบไม้





 ประเพณีการเล่นว่าวของประเทศไทย
          ประเทศไทยอยู่ในเขตลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดเข้าประเทศไทยระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ลักษณะอากาศร้อนชื้นฝนตกชุกชาวนาไทยเริ่มออกสู่ท้องนาเพื่อไถหว่านข้าวกล้า ในช่วงเปลี่ยนฤดูฝนเป็นฤดูหนาวจะมีลมที่พัดเอาความแห้งแล้งและหนาวเย็นจากภาคใต้ของจีนมาสู่บริเวณของประเทศไทย เรียกว่าลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในระยะนี้ตามชนบทของประเทศไทยจะเป็นเวลาเก็บเกี่ยวข้าวในท้องทุ่งนา ลมที่พัดจากทิศเหนือลงใต้ชาวบ้านเรียก ลมว่าวส่วนลมที่เล่นว่าวพัดจากทิศใต้ขึ้นเหนือในช่วงกลางฤดูร้อนเรียกว่า ลมตะเภา
                ชาวนาและผู้รักการเล่นกีฬาว่าว จะประดิษฐ์ว่าวต่างๆ ขึ้นสู่ท้องฟ้าเพราะมีกระแสลมดีและท้องทุ่งนากว้างขวางว่างเปล่า กอรปกับการทำกิจกรรมเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ หรือขณะเก็บเกี่ยวก็จะนำว่าวขึ้นผูกไว้ฟังเสียงดุ๊ยดุ่ยปานประหนึ่งว่ามีเทพยดามาขับกล่อมดนตรีให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการทำงาน ในเวลาค่ำคืนผู้ที่ทำหน้าที่นอนเฝ้าข้าวที่นำมากองรวมไว้ในลานก็จะนำว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้าฟังคีตบรรเลงเป็นเพื่อนแก้เหงา
          การเล่นว่าวจึงเป็นประเพณีที่มีความผูกพันกับชาวนาไทยของทุกภาคตลอดมา ระยะเวลาการเล่นว่าวแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นอาจจะแตกต่างกันบ้างตามสภาพของอากาศและภูมิประเทศ ส่วนใหญ่จะประมาณสิ้นฤดูฝนเข้าฤดูหนาวไปสิ้นสุดประมาณปลายฤดูร้อนเข้าฤดูฝน เด็กๆมักจะเล่นว่าวที่ทำและเล่นง่ายเช่นว่าวปักเป้า ว่าวงู เป็นต้น ผู้ใหญ่จะเล่นว่าวที่ใหญ่และมีโครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้น เช่นว่าวจุฬา ว่าวแอก เป็นต้น
          ปัจจุบันประเพณีการเล่นว่าว นอกจากชาวไร่ชาวนาในชนบทนิยมเล่นแล้ว ยังมีหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรต่างๆ หันมาให้ความสนใจส่งเสริมประเพณีการเล่นว่าวมากขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมอันเกิดจากจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทยมาช้านาน เช่นการจัด
นิทรรศการว่าวไทย ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา งานมหกรรมว่าวที่จังหวัดบุรีรัมย์ ประเพณีว่าวที่จังหวัดสตูล และเทศกาลว่าวที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ขยายไปเป็นมหกรรมว่าวระดับนานาชาติ
          การทำและการเล่นว่าวแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันตามคตินิยมที่นับถือและตกทอดมาจากบรรพชน เช่นภาคอีสาน นิยมเล่นว่าวแอก ว่าวอีลุ้ม ว่าวจุฬาอีสาน เป็นต้น ภาคใต้นิยมเล่นว่าวปลา ว่าวเดือน ว่าวหน้าควาย ว่าวจุฬาเป็นต้น ส่วนภาคกลางนิยมเล่นว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู และว่าวประดิษฐ์เป็นรูปสัตว์หรือรูปสัญลักษณ์ต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทยที่มักจะพบเห็นอยู่เสมอคือว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า แต่รูปแบบอาจแตกต่างกันบ้าง ถือได้ว่า ว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า เป็นสัญลักษณ์ของว่าวไทยก็ว่าได้
          ว่าวคือเครื่องเล่นชนิดหนึ่งส่วนใหญ่มีไม้ไผ่เป็นโครง ปิดทับด้วยกระดาษ ผ้าหรือพลาสติก วิธีเล่นก็ปล่อยให้ลอยอยู่ในอากาศด้วยแรงลม โดยมีเชือกปอ ด้ายไนล่อนหรือป่านสำหรับบังคับ
          การเล่นว่าวนิยมในแทบเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ลาว เวียดนาม อินเดีย เขมร และไทยเป็นต้น สันนิษฐานว่าจีนเป็นชาติแรกที่คิดทำว่าวขึ้น แถบ ยุโรปมีการเล่นว่าวบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศไม่อำนวย ว่าวแต่ละประเทศจะมีรูปร่างแตกต่างกัน แต่มีจุดประสงค์ไม่แตกต่างกันมากนัก

รูปภาพกิจกรรมการเล่นว่าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น